การถอนฟัน

การถอนฟันคือการรักษาโดยการนำเอาฟันออกจากกระดูกเบ้าฟันเนื่องจากสาเหตุหลายประการ

สาเหตุที่ต้องถอนฟัน

  1. ฟันผุมากจนถึงชั้นประสาทฟันไม่สามารถบูรณะได้
  2. ฟันบริเวณที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรง
  3. ฟันน้ำนมไม่หลุดตามระยะเวลาทำให้ฟันแท้ไม่สามารถขึ้นมาได้
  4. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการใส่ฟัน
  5. ฟันที่ต้องถอนเพื่อรักษาร่วมกับแผนการจัดฟัน
  6. ฟันคุด ฟันเกิน
  7. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุและไม่สามารถซ่อมแซมได้บูรณะได้
  1. ลับมาพบทันตแพทย์

การเตรียมตัวก่อนการถอนฟัน

  1. ควรมีสุขภาพร่างกายร่างกายแข็งแรงแข็งแรงรับประทานอาหารและพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวมียารับประทานประจำควรรับประทานอาหารและยาตามปกติ
  3. ในเด็กรับการรักษาหลังจากมื้ออาหาร 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการอาเจียน
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ประจำตัวก่อนเช่นผู้ที่มีโรคทางโลหิตวิทยาและผู้ที่ทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  5. ควบคุมความดันโลหิตไม่ควรต่ำกว่า 90 / 60 มิลลิเมตรปรอท และไม่สูงกว่า 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท

คำแนะนำหลังการถอนฟัน

  1. กับผ้าก๊อซนาน 1-2 ชั่วโมงกลืนน้ำลายตามปกติ
  2. ครบ 2 ชั่วโมงคายผ้าก๊อซและถ้ายังมีเลือดซึมจากแผลให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ 1 ชั่วโมง
  3. ประคบด้วยน้ำแข็งภายนอกบริเวณแก้มข้างที่ทำการผ่าตัดหรือถอนฟัน 24 – 48 ชั่วโมง
  4. รับประทานอาหารอ่อนอ่อน งดเว้นของหมักดองอาหารรสจัด
  5. แปรงฟันทำความสะอาดทำความสะอาดได้ตามปกติ
  6. ตัดไหมได้ภายหลังการถอนฟัน 5-7 วัน
  7. หากมีปัญหาแทรกซ้อนหรือมีอาการเจ็บป่วยผิดปกติให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์

ฟันคุด

ฟันคุดคือฟันฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะมีกระดูกหรือเหงือกมาปิดขวางบางครั้งอาจก่อให้เกิดอาการปวดฟันหรือว่าทำความสะอาดฟันสิ้นสุดท้ายได้ยากจนทำให้เกิดฟันผุ

ปัญหาที่จะเกิดตามมาหลังจากมีฟันคุด

ฟันผุ  ฟันคุดที่ขึ้นมาในลักษณะเอียงจะทำให้มีเศษอาหารติดระหว่างฟันคุดและฟันข้างเคียงไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึงเกิดปัญหากลิ่นปากตามมาและอาจทำให้ฟันผุบริเวณซอกฟันข้างเคียงได้

เหงือกอักเสบ เมื่อฟันคุดขึ้นมาในช่องปากบางส่วนเหงือกที่ปกคลุมมักจะมีเศษอาหารไปติดใต้เหงือกทำความสะอาดได้ยากจนมีอาการบวมแดงอักเสบหรืออาจจะติดเชื้อซึ่งทำให้บริเวณนั้นเกิดหนองและอาการปวดได้

ฟันเก ฟันคุดที่ขึ้นมาอาจส่งผลให้ฟันเคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง จนเกิดปัญหาฟันซ้อนเกได้

ขั้นตอนการผ่าฟันคุด

  1. ทันตแพทย์ตรวจช่องปากและดูลักษณะการขึ้นของฟันคุดเพื่อพิจารณาว่าควรถอนหรือว่าผ่า
  2. ทันตแพทย์ อาจเอกซเรย์เพื่อประกอบการรักษา
  3. ทันตแพทย์ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
  4. ผ่าตัดเปิดเหงือก และอาจกรอกระดูกแบ่งฟันเพื่อถอนฟันคุดออกมา
  5. ทันตแพทย์ทำการเย็บปิดปากแผลให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลหลังการผ่าฟันคุดและนัดมาตัดไหม

วิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด

  1. กัดผ้าก๊อซแน่นแน่นประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อห้ามเลือดถ้ายังมีเลือดไหลอยู่หลังจาก 2 ชั่วโมงให้กัดผ้าก๊อซต่ออีก 1 ชั่วโมง
  2. แนะนำให้ประคบเย็นบริเวณแก้มประมาณ 30 นาทีหลังผ่าฟันคุด
  3. ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย 1-2 ชั่วโมงหลังการผ่าฟันคุดเพราะอาจทำให้เลือดหยุดไหลช้า
  4. ห้ามใช้นิ้วกดแผล ไม่รบกวนบริเวณแผล
  5. สามารถบ้วนปากได้ แปรงฟันได้ตามปกติ เพิ่มความระมัดระวังบริเวณบริเวณปากแผล
  6. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
  7. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  8. งดอาหารที่มีรสชาติเผ็ดควรทานอาหารอ่อนๆในช่วง 3 วันแรก
  9. เข้ามาตรวจเช็คแผลหลังจากผ่าตัด

การยกไซนัส

การยกโพรงอากาศ (Sinus Lift)

คนเรานั้นจะมีโพรงอากาศแมกซิลารี่ (Maxillary sinus) อยู่บริเวณใกล้ปลายรากฟันกรามใหญ่บนที่ 1 และ 2 ซึ่งหากฟันบริเวณนี้ถูกถอนไปจะทำให้กระดูกมีการยุบตัว และอาจมีความสูงของกระดูกไม่เพียงพอต่อการฝังรากเทียม เนื่องจากมีโพรงอากาศดังกล่าวอยู่ข้างใต้ เพราะฉะนั้นการฝังรากเทียมในบริเวณนี้บางกรณีจะต้องมีการผ่าตัดยกเยื่อหุ้มโพรงอากาศขึ้นและนำกระดูก ซึ่งโดยทั่วไปใช้กระดูกสำเร็จรูปใส่แทนที่ช่องว่างในบริเวณที่จะฝั่งรากเทียมเพื่อให้ความสูงของกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียมต่อไป