รากเทียม ใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป มีลักษณะเสมือนฟันธรรมชาติมากที่สุด สามารถใช้งานได้เหมือนฟันธรรมชาติทำให้คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข รากเทียมผลิตจากไทเทเนียมบริสุทธิ์ มีรูปร่างที่คล้ายกับรากฟันธรรมชาติ ทันตแพทย์จะฝังรากเทียมเข้าไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อทำหน้าที่แทนรากฟันที่เสียไป
ส่วนประกอบของรากเทียม
Crown (ครอบฟัน)
ลักษณะเหมือนฟันธรรมชาติ
Abutment (หลักยึดรับครอบฟัน)
ทำจาก Titanium หรือ Zirconium จะสวมยึดติดกับรากเทียม
Fixture/Implant (รากฟันเทียม)
รากเทียมผลิตจาก Titanium เคลือบด้วย Nano-Calcium lons มีผลทำให้ตัวรากเทียมยึดติดกับขากรรไกรได้อย่างแนบแน่นและรวดเร็ว โดยไม่ทำให้เกิดอาการอักเสบ มีลักษณะที่ถูกออกแบบมาให้เสมือนฟันธรรมชาติ
ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม
ขั้นตอนที่ 1. การตรวจ ให้คำปรึกษา
ทันตแพทย์จะประเมินตรวจสภาพฟันเพื่อพิจารณาดูว่าเหมาะสมกับการใส่รากเทียมชนิดใดและจะต้องมีการเสริมกระดูกหรือไม่
ขั้นตอนที่ 2. การใส่รากเทียม
ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกรตัวรากเทียมจะประสานกับกระดูกขากรรไกรและทำหน้าที่เป็นรากฟันสำหรับต่อ Abutment ต่อไป
ขั้นตอนที่ 3. การใส่ Abutment รองรับครอบฟัน
ทันตแพทย์จะใส่ตัว Abutment ลงบนรากฟันเพื่อจัดทรงเหงือก และเตรียมรองรับการใส่ครอบฟัน
ขั้นตอนที่ 4. การใส่ครอบฟัน
ทันตแพทย์จะใส่ครอบฟันที่ถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างและสีคล้ายกับฟันข้างเคียงลงบน Abutment
ข้อดีของการใส่รากเทียม
- บูรณะโครงสร้างของใบหน้าทำให้ไม่เสียโครงหน้า
- เสริมความมั่นใจในการยิ้ม
- ความแข็งแรงของรากฟันเทียมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบดเคี้ยวทำให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น
- มีลักษณะสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติมากที่สุด
- ไม่ต้องกรอฟัน และไม่สูญเสียเนื้อฟันในส่วนที่ดีของฟันข้างเคียงเหมือนการทำสะพานฟัน
การดูแลรักษารากเทียม
- รักษาสุขภาพความสะอาดในช่องปาก
- แปลงฟันให้สะอาด และใช้ไหมขัดฟัน
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์
- พบทันตแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาตามระยะที่นัดหมายอย่างสม่ำเสมอ
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการทำรากเทียม
รากฟันเทียมสามารถอยู่ได้นาน 10 – 20 ปี ถ้าคนไข้ดูแลทำความสะอาดเป็นอย่างดี การไม่เคี้ยวของแข็งจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ครอบรากเทียมแตกได้และหมั่นเข้าพบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้งคุณก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้อีกนาน
การทำรากเทียมจะมีการฉีดยาชาตั้งแต่ก่อนเริ่มผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไวของเส้นประสาทของคนไข้แต่ละคน ระดับความเจ็บนั้นจะแตกต่างกัน แต่ในเคสส่วนใหญ่เมื่อใส่ยาชาก็จะไม่รู้สึกเจ็บใดใดระหว่างทำการผ่าตัด ทันตแพทย์จะคอยเช็คอาการตลอดการผ่าตัดหากรู้สึกเจ็บทันตแพทย์จะให้ยาชาเพิ่มเพื่อระงับอาการเจ็บ
อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปเพราะว่ากระดูกขากรรไกรมีการเจริญเติบโตได้ค่อนข้างเต็มที่แล้ว